วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

ยุคหินเก่า

     

ยุคหินเก่า








          แหล่งมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ยุคนี้พบว่ามีอยู่หลายแห่งโดยเฉพาะกลุ่มมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินเก่านั้นได้มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเล็กๆประมาณกลุ่มละ ๓๐๓๐๐ คน มนุษย์กลุ่มนี้พากันดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์ เก็บเผือกมันและผลไม้เป็นอาหาร  ใช้รากไม้-ใบไม้ รักษาการเจ็บป่วย  ไม่รู้จักทำไร่ไถนาปลูกพืช  ไม่รู้จักทำเครื่องปั้นดินเผา  ไม่รู้จักการเลี้ยงสัตว์ ไม่มีภาษาเขียน มนุษย์บางกลุ่มไม่รู้จักการใช้ไฟ รู้จักที่จะนำกระดูกสัตว์และหินมากระเทาะด้านเดียวอย่างหยาบ ๆ มาเป็นเครื่องมือสับตัด โดยยังไม่รู้จักขัดถูให้ประณีต ดังจะเห็นได้จากขวานหินกำปั้น(First Axes) เป็นขวานหินประเภทกระเทาะ  รู้จักทำเข็มเย็บหนังสัตว์จากกระดูกสัตว์    บางครั้งมนุษย์ยุคหินเก่านี้ได้่วนใหญ่อาศัยถ้ำและเพิงผาเป็นที่พัก   หรือเร่ร่อนพเนจรหากินไปตามลำธาร  ซอกเขาต่าง ๆ ที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ โดยไม่ปลูกสร้างบ้านเรือนถาวร เมื่อที่ใดไม่มีแหล่งอาหารหมด  ก็จะเคลื่อนย้ายไปแหล่งอาหารใหม่เรื่อยไป      เมื่อตายลงก็จะนำศพไปฝังไม่ไกลจากถิ่นที่อยู่  
                  เมื่อพ..๒๕๒๖-๒๕๓๐คณะสำรวจได้สำรวจพบหลักฐานที่แสดงว่าแผ่นดินสุวรรณภูมิมีมนุษย์ยุคหินตอนต้นคือโฮโมซาเปี้ยน(Homosapien)ตั้งหลักแหล่งอยู่แล้ว มนุษย์ยุคนี้มีอายุระหว่าง ๓๗,๐๐๐๒๗,๓๕๐ ปี  ในครั้งนั้นศาสตราจารย์ ดักลาส แอนเดอร์สัน (Dr. Douglas Anderson) นักมานุษยวิทยาโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยบราวน์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ร่วมกับกรมศิลปากร ทำการขุดค้นทางโบราณคดี  พบเครื่องมือหินกระเทาะ ถ่านจากเตาไฟ เครื่องปั้นดินเผา  กระดูกสัตว์เผาไฟ  และร่องรอยของการอยู่อาศัยของมนุษย์ยุคไพลสโตซีน(Plistocence) อยู่ในถ้ำหลังโรงเรียน (Lang Rongrean)  อยู่ที่บ้านทับปริก อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่   หรือเพิงผาหินปูน เป็นมนุษย์ยุคเดียวกับมนุษย์  








โครมันยองที่พบในฝรั่งเศส
                     ต่อมาพ..๒๕๓๔ ดร.สุรินทร์ ภู่ขจร นักโบราณคดีไทยได้สำรวจพบเครื่องมือหินกะเทาะและร่องรอยการอยู่อาศัย ของมนุษย์โบราณยุคไพลสโตซีน ในถ้ำหมอเขียว ตำบลกระบี่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เช่นเดียวกันได้มีการนำสิ่งที่ค้นพบไปทดสอบอายุด้วยรังสีนิวเคลียร์ที่สหรัฐอเมริกา พบว่ามีอายุกว่าสี่หมื่นปี
                   เมื่อประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ ปีนั้นแผ่นดินบริเวณนี้ได้เกิดมีระดับน้ำทะเลซึ่งมีความสูงกว่าปัจจุบันราว ๔๕ เมตรหมายความว่าน้ำได้ท่วมบริเวณแผ่นดินเป็นบริเวณกว้างมีเกาะแก่งในทะเล  ต่อมาเมื่อประมาณ๒๕,๐๐๐๒๒,๐๐๐ ปีนั้น โลกได้เกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติที่รุนแรงขึ้นโดยภูเขาไฟระเบิดหรือแผ่นดินไหวไปทั่วโลก จนทำให้น้ำทะเลลดลงต่ำกว่าระดับปัจจุบันถึง ๑๒๐ เมตร  ทำให้มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์และสัตว์สามารถเดินทางทางบกไปมาระหว่างภูเขาและแผ่นดินต่างๆที่เคยเป็นเกาะแก่งต่างๆอยู่ในทะเลได้สะดวกสบาย  หลักฐานที่ยืนยันในเรื่องนี้คือแหล่งเกลือสินเธาว์บนบกและใต้ดินหลายแห่งที่พบว่าในสมัยดึกดำบรรพ์นั้นเป็นแหล่งน้ำเค็มมาก่อน เช่น บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และบนภูเขาสูงที่อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน  ทำให้สันนิษฐานได้ว่า
                   บริเวณดังกล่าวนั้นได้เคยเป็นทะเลมาก่อน   ต่อมาเมื่อประมาณ ๘,๕๐๐-,๗๐๐  ปี ได้เกิดแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิดซ้ำอีก ทำให้น้ำทะเลกลับขึ้นสูงถึงระดับปัจจุบัน ทำให้พื้นที่ซึ่งเคยเป็นพื้นดินดั้งเดิมได้กลายเป็นเกาะแก่ง   คนที่อยู่บนบกบางแห่งจึงกลายเป็นชาวเกาะ  พบว่ามีการเขียนภาพไว้ในถ้ำเพิงผาอยู่ตามเกาะต่างๆ   มีการใช้แพและเรือในการเดินทางระหว่างเกาะต่างๆ
                   ข้อสันนิษฐานนี้ให้คำตอบว่า มนุษย์และพืชหรือสัตว์ที่อยู่ต่างทวีปนั้น  เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงจนเกิดเป็นทะเลและเกาะใหญ่น้อยต่าง ๆขึ้น  ได้ทำให้มนุษย์และสัตว์เช่นช้าง ที่อยู่ในเกาะลังกา สุมาตรา และอินเดีย นั้น จึงมีชาติพันธ์และวัฒนธรรมคล้ายคลึงกันได้
                  หลักฐานสำคัญที่พบคือเครื่องมือหินกระเทาะหยาบ และ ขวานหินกำปั้น ที่ใช้ในยุคหิน   อายุกว่า ๑๐,๐๐๐ปีเป็นจำนวนมาก ซึ่งสำรวจพบที่จังหวัดกาญจนบุรี บริเวณแควน้อยแควใหญ่ ใกล้สถานีรถไฟบ้านเก่า  ตำบลจรเข้เผือก อำเภอเมือง ที่ถ้ำองบะ อำเภอศรีสวัสดิ์  และที่อำเภอไทรโยค  










                นอกจากนี้ยังสำรวจพบเครื่องมือหินเก่าอีกหลายแห่งเช่น   พบขวานหินกระเทาะหยาบและขวานหินกำปั้นในจังหวัดกระบี่   พบที่อำเภอคลองท่อม  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  พบที่ถ้ำเบื้องแบบ ในจังหวัดลำปาง      พบที่อำเภอแม่ทะ จังหวัดแพร่     พบที่อำเภอร้องกวาง จังหวัดเชียงใหม่  พบที่ผาช้าง ออบหลวง  ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน  และพบโลงศพทำด้วยไม้รูปร่างคล้ายเรือขุดจากต้นซุง ขวานหิน ลูกปัดและหม้อดินเผาและซากพืช พวกหมาก  สมอพิเภก  ดีปลี  พลู พริกไทย และแตงกวา ที่ถ้ำผาชัน ถ้ำผีแมน (Spirit Cave) และถ้ำปุงฮุง สำหรับในจังหวัดเชียงรายนั้นพบขวานหินที่แหล่งโบราณคดีดอยคำ ริมฝั่งแม่น้ำคำ แม่น้ำโขง บ้านสบคำ บ้านสบรวก อำเภอเชียงแสน   อำเภอแม่สาย และอำเภอเมือง   จังหวัดเลย พบที่อำเภอเชียงคาน  ที่จังหวัดราชบุรี พบที่บ้านตะโกปิดทอง อำเภอสวนผึ้ง รวมทั้งมีการพบชิ้นส่วนขวานหินบนยอดเนินเขาที่ ๑๒ กิโลเมตร ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอเมืองและ ๑๕ กิโลเมตร ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอเมือง จังหวัดน่าน(เป็นแหล่งผลิตเครื่องมือหินโบราณ)  จังหวัดพะเยา พบบริเวณแม่น้ำโขง แม่น้ำคำ และแม่น้ำเมย หลายแห่ง ส่วนใหญ่มักจะพบเครื่องมือหินในที่กลางแจ้งใกล้แม่น้ำหรือทางน้ำเก่า ยกเว้นที่ถ้ำพระ  อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรีแห่งเดียวเท่านั้นที่พบเครื่องมือหินในถ้ำ

                  สำหรับหลักฐานของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ยุคหินเก่าในประเทศไทยนั้นพบอีกหลายแห่งเช่น เรื่องราวของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในถ้ำจอมทอง  จังหวัดเชียงใหม่   ในดอยถ้ำพระ อำเภอเชียงแสน  พบในพื้นที่ดินฝั่งซ้ายของแม่น้ำกก ห่างจากตัวจังหวัดเชียงรายไปทางตะวันตกประมาณ ๓ กิโลเมตร   พบบนเนินผาใกล้ถ้ำฤาษี อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี   พบในถ้ำกระดำ เขาสนามแจง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี  พบในถ้ำพระ ถ้ำทะลุ เขาหินกรวดระหว่างสถานีรถไฟบ้านเก่า ถึงสถานีท่ากิเลน  ใกล้แม่น้ำแควน้อย  พบบริเวณใกล้ทางรถไฟสาย ธนบุรี-น้ำตก  จังหวัดกาญจนบุรี และพบที่ทุ่งผักหวาน  ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
                   ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง   เชลยศึกชาวฮอลันดาชื่อ ดรแวน    ฮิกเกอรแรน ซึ่งถูกญี่ปุ่นจับมาทำงานเป็นกรรมกรสร้างทางรถไฟสายมรณะ  ที่จังหวัดกาญจนบุรี ได้พบเครื่องมือหินของมนุษย์โบราณที่ริมแม่น้ำแควน้อย ใกล้สถานีรถไฟบ้านเก่า ห่างจากตัวจังหวัดกาญจนบุรี ขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือราว ๓๕ ไมล์ จึงได้เขียนรายงานเผยแพร่  ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้มีนักประวัติศาสตร์ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ มาศึกษาเรื่องสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในประเทศไทยหลายคณะ เช่น คณะของประเทศเดนมาร์ค  ของมหาวิทยาลัยฮาวาย และมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นต้น    เรื่องราวของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่พบบริเวณบ้านเก่าแห่งนี้ เรียกว่า วัฒนธรรมฟิงนอยเอียน  โดยนำคำว่า แควน้อยที่ชาวต่างประเทศเรียกว่าแฟน้อย หรือ ฟิงนอย มาตั้งชื่อวัฒนธรรมของมนุษย์หินเก่าที่พบในจังหวัดกาญจนบุรีนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น