วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

ยุคหินใหม่




ยุคหินใหม่




    ยุคนี้เป็นยุคที่มีแหล่งโบราณคดีมากมายในทุกภูมิภาคของประเทศไทย เครื่องมือเครื่องใช้ที่พบคือ เครื่องมือหินขัด ที่สำคัญคือ ขวานหินขัด ซึ่งชาวบ้านบางแห่งเรียกว่า ขวานฟ้า เชื่อกันเป็นขวานศักดิ์สิทธ์ที่ตกลงจากฟ้าใช้รักษาโรคได้ บางแห่งเรียกว่า เสียมตุ่น เชื่อกันว่าเป็นเสียมที่ตุ่นใช้ขุดดิน ลักษณะของเครื่องมือหินขัดมีหลายรูปแบบตามจุดมุ่งหมายการใช้งาน เช่น ขวาน ขวานถากหรือผึ่ง ขวานมีบ่า จักร สิ่ว เป็นต้น












     นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือเครื่องใช้อื่น ๆ เช่น เครื่องปั้นดินเผา พบเป็นภาชนะ เช่น หม้อ ไห จาน ชาม และเครื่องใช้อื่น เช่น ตุ้มถ่วงแห แวดินเผา (ใช้ในการปั้นด้าย) หินดุ (ใช้ในการขึ้นรูปภาชนะดินเผา) เครื่องมือทำจากกระดูกสัตว์ เช่น ฉมวก สิ่ว เบ็ด เครื่องประดับ พบทั้งที่ทำด้วยหินกระดูก และเปลือกหอย เช่น กำไล ลูกปัด จี้ เครื่องจักสาน มักพบเป็นรอยพิมพ์ของเครื่องจักสานอยู่บนภาชนะ หรือในดิน
ยุคหินใหม่เป็นยุคแห่งเกษตรกรรม พืชที่สำคัญที่มนุษย์ยุคนี้ปลูกก็คือ ข้าว นอกจากนี้ยังอาจปลูกพืชอื่น ๆ เช่น ถั่ว ฟัก บวบ ส่วนสัตว์เลี้ยงสำคัญ ได้แก่สุนัข หมู วัว ควาย การล่าสัตว์ยังคงพบหลักฐานการล่าเก้ง กวาง กระต่าย แรด กระจง กระรอก เต่า ตะพาบ หอย ปู และหลาชนิดต่าง ๆ












     หลักฐานสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่พบมากในแหล่งโบราณคดียุคหินใหม่คือ หลุมฝังศพ ซึ่งมักจะฝังในลักษณะนอนหงายเหยียดยาว ศพที่ฝังงอตัวหรือฝังในภาชนะดินเผาพบไม่มากนัก ภายในหลุมฝังศพมีเครื่องเซ่น เช่น อาหาร ภาชนะดินเผา ขวานหินขัด และมีเครื่องประดับตกแต่งศพ เช่น กำไล ลูกปัด จี้ทำด้วยวัสดุต่าง ๆซึ่งการฝังศพนี้แสดงให้เห็นความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตและการตายของมนุษย์จน ก่อเกิดประเพณีการฝังศพ นอกจากนี้แล้วบางครั้งพบพิธีกรรมที่ทำกับศพ เช่น มัดศพ กรอฟันศพ เป็นต้น
      สภาพชีวิตมนุษย์ในยุคหินใหม่เปลี่ยนแปลงชีวิตความเป็นอยู่จากที่สูงมา อยู่บนที่ราบใกล้แหล่งน้ำอยู่รวมเป็นกลุ่มเป็นหมู่บ้าบนเนิน ดำรงชีวิตลักษณะเศรษฐกิจใหม่ คือ เกษตรกรรม ประเภทการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ รู้จักการทำเครื่องปั้นดินเผา การทำเครื่องจักสาน การทอผ้า เป็นต้น และพบว่ามีผลิตผลมากเกินกว่าที่จะบริโภค ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนและการค้าขาย ส่วนการล่าสัตว์และการจับสัตว์น้ำยังคงมีอยู่
เนื่องจากมีการตั้งถิ่นฐานถาวร มีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว สังคมยุคหินใหม่จะซับซ้อนมากขึ้น มีความแตกต่างทางฐานะในสังคม มีการแบ่งงานกันทำ มีการทำงานเฉพาะด้าน และมีการติดต่อกันระหว่างชุมชน ซึ่งอาจเป็นการแลกเปลี่ยนหรือการติดต่อทางวัฒนธรรม
     แหล่งโบราณคดียุคหินใหม่พบอยู่ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ในสภาพภูมิประเทศแตกต่างกันเนื่องจากปัจจัยในการตั้งถิ่นฐาน เช่น พื้นที่ทำการเกษตร แหล่งวัตถุดิบในการทำเครื่องมือเครื่องใช้ แหล่งน้ำ เป็นต้น แหล่งโบราณคดียุคหินใหม่ที่พบส่วนใหญ่อยู่ตาม ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ดอน ที่ราบสูง ถ้ำเพิงผา และชายฝั่งทะเลซึ่งอยู่ใกล้แหล่งน้ำจืด ตัวอย่าง เช่น บ้านเก่า ในเขตลุ่มน้ำแควน้อย อำเภอเมือง                กาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี โคกเจริญ ในเขตลุ่มแม่น้ำป่าสัก อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ถ้ำพระตำบลไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ถ้ำสิงขร อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โคกพนมดี ในเขตชายฝั่งทะเลเดิม อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี บึงไผ่ดำ ในเขตชายฝั่งทะเลเดิม อำเภอน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา โนนนกทา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
     บ้านเก่าเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ รู้จักทั่วโลกแหล่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ในตำบลจระเข้เผือก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี นายแวน ฮีกเกอเร็นนักโบราณคดี ชาวเนเธอร์แลนด์ซึ่งเป็นเชลยศึกในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้พบเครื่องมือหินกะเทาะในบริเวณริมแม่น้ำแควน้อยที่บ้านเก่าระหว่างการ สร้างทางรถไฟสายมรณะ จากนั้นจึงมีการสำรวจบริเวณนี้อีกหลายครั้งจนกระทั่งใน พ.ศ. 2503 เป็นต้นมา รัฐบาลไทยและรัฐบาลเดนมาร์กจึงได้ร่วมกันจัดทำโครงการสำรวจและขุดค้นอย่าง เป็นระบบขึ้น ซึงเป็นการดำเนินการทางโบราณคดีอย่างเป็นระบบครั้งแรกในประเทศไทย
   จากการขุดค้นได้พบเครื่องมือหินขัด เครื่องปั้นดินเผา กระดูกสัตว์ เปลือกหอย และโครงกระดูกมนุษย์เป็นจำนวนมาก เครื่องมือหินขัดที่พบเป็นขวานหินขัดที่มีลักษณะแบบผึ่งหรือขวานถาก สิ่วหินขัด หัวลูกศรปลายหอก หินลับ หินบด และจักรหินหรือแผ่นหินทำเป็นรูปวงกลมเจาะรูตรงกลาง กระดูกสัตว์ เขาสัตว์ และเปลือกหอยพบทั้งที่เหลือจากการบริโภคและที่ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น หัวลูกศร ปลาย หอก เบ็ด สิ่ว เข็ม และเครื่องประดับ ภาชนะดินเผาสมัยหินใหม่ที่บ้าน














เก่าพบเป็นจำนวนมากและมีรูปแบบต่าง ๆ กัน เช่น หม้อ ชาม กระปุก พาน และที่สำคัญจนถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของสมัยหินใหม่ที่บ้านเก่า คือ หม้อสามขา ภาชนะดินเผาเหล่านี้นอกจากจะพบเป็นเครื่องใช้แล้วยังพบอยู่ในหลุมฝังศพซึ่ง อาจเป็นภาชนะใส่เครื่องเซ่นสำหรับผู้ตายจากการเปรียบเทียบภาชนะดินเผาวา คล้ายคลึงกันกับภาชนะดินเผาของวัฒนธรรมลุงซานในประเทศจีน นอกจากภาชนะดินเผาแล้วยังพบเครื่องปันดินเผาชนิดอื่น เช่น ลูกกระสุนดินเผา แวดิน เผา เป็นต้น
     โครงกระดูกมนุษย์จำนวนมากขุดค้นพบที่บ้านเก่า มักถูกฝังนอนหงายเหยียดยาว ตกแต่งศพด้วยเครื่องประดับ เช่น ลูกปัด กำไล มีความเชื่อในการกรอหรือถอนฟันของผู้ตายก่อนจะฝัง นอกจากนี้ยังมีการฝังเครื่องเซ่นเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ และอาจมีการฝังอาหารสำหรับผู้ตายด้วย
     สมัยหินใหม่ที่บ้านเก่านี้มีอายุประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว และมีการอยู่อาศัยต่อเนื่องมาจนเข้าสู่ยุคโลหะ ข้อมูลและหลักฐานเกี่ยวกับสมัยหินใหม่ที่บ้านเก่า ปัจจุบันจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเก่า ซึ่งสร้างในบริเวณที่มีการดำเนินงานขุดค้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น